วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

อาหารเสริมควบคุมน้ำหนัก บลู(Blue) ขนาด 20 แคปซูล

อาหารเสริมควบคุมน้ำหนัก บลู(Blue) ขนาด 20 แคปซูล
(เลขที่ อย 24-1-20555-1-0076)



ผลิตภัณฑ์ บลู(ฺBlue) มุ่งมั่นวิจัยและค้นคว้า คัดสรรสารสกัดคุณภาพสูงเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์มาตราฐานสวิสเซอร์แลนด์ ปราศจากสารตกค้างและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย 
คุณสมบัติ
     - ช่วยเผาพลาญไขมันส่วนเกินกระตุ้นกระบวนการบอลิซึ่ม ของร่างกาย 
     - ช่วยสลายไขมันหน้าท้อง
     - ช่วยบล็อกแป้ง น้ำตาล และไขมันส่วนเกินไม่ให้ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย 
     - ช่วยกระชับสัดส่วน นอกจากนี้ยังช่วยดักจับไขมัน 
     - รักษาระดับน้ำตาลในร่างกาย ทำให้ความอยากอาหารลดลง 

ส่วนประกอบ
     - Raspberry Ketone สารสกัดจากผลราสเบอรี่
     - Soy Protein สารสกัดจากถั่วเหลืองคุณภาพสูง
     - L Carnitine สารสกัดจากมะเขือเทศ
     - Garcinia Extrat สารสกัดจากส้มแขก
     - Chromium Picilinate
     - Cactus Extract สารสกัดจากต้นตะบองเพชร

ขั้นตอนการทำงานของผลิตภัณฑ์
     - Block บล็อก น้ำตาล แป้งและไขมัน
     - Burn เผาพลาญไขมันส่วนเกิน  
     - Boost เร่งกระบวนการ metabolism

วิธีรับประทาน : รับประทานวันละ 1แคปซูล ก่อนอาหารเที่ยง


ราคาพิเศษ 1,650 บาท + ส่งฟรีทั่วประเทศ !!!  สั่งซื้อได้ที่ 

http://www.ihealthyplus.com/product/5/อาหารเสริมควบคุมน้ำหนัก-บลูblue-ขนาด-20-แคปซูล

หรือติดต่อได้ที่ 
Line ID @ ihp4032 
โทร.093-0504032
www.iHealthyPlus.com

วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

อาหารเสริมปรับสมดุลร่างกาย Puritan's Pride - Probiotic Acidophilus with Pectin 3 billion ขนาด 100 Capsules

ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมปรับสมดุลร่างกาย 
Puritan's Pride - Probiotic Acidophilus with Pectin 3 billion ขนาด 100 Capsules



- ข้อมูลเพิ่มเติมจาก http://www.ihealthyplusshop.com/product/4/puritanaposs-pride-probiotic-acidophilus-with-pectin-3-billion-ขนาด-100-capsules


Probiotic Acidophilus with Pectin 3 billion

คุณสมบัติเบื้องต้น - ช่วยเสริมสร้างสุขภาพการทำงานของระบบการดูดซึมอาหารของลำไส้ให้ดีขึ้น ใน 1 เม็ดแคปซูล
     - สามารถให้จุลินทรีย์ที่มีชีวิตไม่น้อยกว่า 3 พันล้านตัว ที่จะช่วยปรับและเสริมสร้างสมดุลของจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้
     - นอกจากนี้ยังมีสารสกัดจากส้ม
Pectin ขนาด 100 มิลลิกรัมสูตรพิเศษ ที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบลำไส้ให้ดีขึ้น 

ซึ่งคุณสมบัติทั้ง 2 ประการ ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว

วิธีรับประทาน - ผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 1 เม็ดหลังอาหาร

ทำไมต้องทาน Probiotic Acidophilus?
ประโยชน์แลคโตบาซิลลัส แอซิโดฟิลัส(Lactobacillus Acidophilus) ฉบับย่อ
     - ช่วยปรับสมดุลระบบย่อยอาหาร
     - ลดภาวะท้องผูก ริดสีดวงทวาร
     - แก้ปัญหากรดไหลย้อน แสบร้อนหน้าอก อันเกิดจากภาวะเครียด
     - ลดสาเหตุการเกิดสิว
     - รักษาระบบภูมิต้านทาน ให้ทำงานเป็นปกติ
     - บรรเทาปัญหาเกี่ยวกับโรคผิวหนัง อาทิ สิว หรือผิวแพ้ง่าย เป็นต้น
     - แก้ไขปัญหากลิ่นปาก กลิ่นตัว แรง
     - บรรเทาปัญหาอาการตกขาวเรื้อรัง
     - ช่วยผลิตเอมไซด์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย


วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประโยชน์ของกรดไขมันโอเมกา-3 : Omega-3

ประโยชน์ของกรดไขมันโอเมกา-3 : Omega-3


กรดไขมันโอเมกา-3 (ω-3 หรือ omega-3) ซึ่งเป็นโครงสร้างไขมันสำคัญในสมองและจอประสาทตา เป็นกลุ่มของกรดไขมันชนิดที่ไม่อิ่มตัวสูง เป็นหนึ่งในกรดไขมันจำเป็น (Essential Fatty acid) ที่ร่างกายมนุษย์ขาดไม่ได้


            ดร.อลัน ไรอัน จาก มาร์เท็ค ไบโอไซน์ส (Martek Biosciences) นำเสนอผลการวิจัย จากการบริโภคกรดไขมันโอเมกา-3 ในเด็กอายุ 4 ขวบ ที่มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ดี ผลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ายิ่งมีระดับกรดไขมันโอเมกา-3 ในเลือดมากเท่าใด เด็กก็จะทำแบบทดสอบด้านการรับรู้ได้ดีมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในการบริโภคอาหารในแต่ละวันควรมีการผสมกรดไขมันโอเมกา-3 ในอาหารสำหรับเด็ก ซึ่งกรดไขมันโอเมกา-3 พบได้ในไขมันปลา แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านยังให้คำแนะนำว่าสตรีและเด็กควรบริโภคไขมันปลาในปริมาณที่พอดี ไม่มากจนเกินไป
กรดไขมันโอเมกา-3 มีบทบาทสำคัญต่อโครงสร้างและการทำงานของสมอง ตับ และระบบประสาทเกี่ยวกับการพัฒนาเรียนรู้ รวมทั้งเกี่ยวกับเรตินาในการมองเห็น นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อโภชนาการและสุขภาพของคนเรา เช่น ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอล และไตรเอธิลกลีเซอรอล (triethylglycerol) ในพลาสมา ควบคุมระดับไลโปโปรตีน (lipoprotien) และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบและหน้าที่ของเกล็ดเลือด จึงมีแนวโน้มก่อให้เกิดผลดีในการลดอันตรายของโรคทางเดินหายใจ โรคไขมันในเส้นเลือด โรคหัวใจและโรคซึมเศร้า โอเมกา-3 พบมากในปลาทะเล และ ปลาน้ำจืดบางชนิด

วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

8 กลุ่มอาหารป้องกันโรคหัวใจ

8 กลุ่มอาหารป้องกันโรคหัวใจ


                โรคหัวใจ นับเป็นหนึ่งโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยในแต่ละไม่น้อยเลย โรคหัวใจเป็นอีกโรคหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับเรื่องของอาหารและการบริโภค เมื่อเห็นความสัมพันธ์ดังนี้แล้วเรามาดูกันว่า 8 กลุ่มอาหารที่มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคหัวใจมีอะไรกันบ้าง



                1. ปลาน้ำจืดหรือปลาทะเล ที่มีไขมัน (oily Fish) อาหารกลุ่มจำพวกนี้ ได้แก่ ปลาดุก ปลาช่อน ปลาทูน่า ปลาแซลมอน เป็นต้น ซึ่งเนื้อปลาเหล่านี้จะมีกรดไขมันโอเมก้า 3 (EPA & DHA) อยู่ไม่น้อย ซึ่งสารอาหารเหล่านี้จะมีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับหลอดเลือด โดยจะทำให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงจากการอุดตันของหลอดเลือดในร่างกาย

                2. น้ำมันพืชทีมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวสูง โดยอาหารกลุ่มนี้ได้แก่ น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว เป็นต้น โดยใช้น้ำมันเหล่านี้มาใช้ประกอบอาหารแทนน้ำมันพืชที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง อาทิ น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว เป็นต้น ซึ่งการหันมาใช้น้ำมันกลุ่มนี้ก็จะมีส่วนช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลส่วนที่ไม่ดี(LDL-C) ลงได้ โดยที่ไม่ลดทอนคอเลสเตอรอลตัวที่ดี(HDL-C) ลง

                3. ผัก ผลไม้หลากสี นอกจากจะมีความจำเป็นต่อร่างกายในแต่ละวันแล้ว ยังมีส่วนให้สารต้านอนุมูลอิสระจำนวนมากแก่ร่างกาย อีกทั้งช่วยป้องกันการเกิดออกซิเดชั่นของ LDL-C ที่จะส่งผลทำให้เกิดผลนังหลอดเลือดหนาตัวขึ้น จนสุดท้ายนำไปสู่สาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ในอนาคต


                4. ไฟเบอร์ที่ได้จากธัญพืชที่ไม่ขัดสี อาหารกลุ่มนี้ได้แก่ ข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี ข้าวกล้อง ซึ่งรวมไปถึงซีเรียลจากธัญพืชต่างๆ และขนมปังโอลวีท ซึ่งอาหารเหล่านี้ที่ได้ยกตัวอย่างมา มีส่วนอย่างมากที่จะช่วยให้หัวใจมีความแข็งแรง และช่วยป้องกันความเสี่ยงจากโรคหัวใจวายได้มากกว่าไฟเบอร์ที่ได้จากผักและผลไม้

                5. ถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วลิสง วอลนัท เม็ดอัลมอนด์ จำพวกถั่วเหล่านี้นอกจากจะมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวค่อนข้างสูงซึ่งจะช่วยลด LDL-C แล้ว ยังมีกรดอะมิโนอาจีนีนอยู่สูง ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างการทำงานของหลอดเลือด และช่วยลดความดันโลหิตได้อีกทางหนึ่ง

                6. วิตามินอี(Vitamin-E) จากธรรมชาติ จะทำหน้าที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดออกซิเดชั่นของ LDL-C เหตุนี้จึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดการอุดตันในผนังของหลอดเลือดแดง กลุ่มอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินอี ได้แก่ ผลอโวคาดี ผักสีเขียว น้ำมันพืชและธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี และที่สำคัญโดยเฉพาะน้ำมันรำข้าวที่มีวิตามินอีถึง 2 กลุ่ม คือ โทโคฟีรอลและโทโคไตรอีนอล

                7. สมุนไพรและเครื่องเทศ อาหารในกลุ่มนี้ที่สำคัญเช่น กระเทียมสด ซึ่งจะมีสารอัลลิซิน ซึ่งมีส่วนช่วยลดระดับคอลเลสเตอรอลในเลือดได้ดีเยี่ยม และสารแคปไซซินในพริก ก็มีส่วนช่วยชะลอการเกาะตัวของลิ่มเลือด และเพิ่มการละลายของลิ่มเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่นำมาซึ่งภาวะหัวใจวาย

                8. อาหารที่มี Plant Sterols หรื Phytosterols สูง ซึ่งได้แก่ ธัญพืชและถั่วต่างๆ เช่น จมูกข้าว เมล็ดงา เมล็ดทานตะวัน ถั่วพิสตาชิโอ รวมทั้งน้ำมันพืชบางชนิด ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าน้ำมันรำข้าว ซึ่งปริมาณเพียง 1 ช้อนโต๊ะจะมีปริมาณ Phytosterols สูงถึง 250 มิลลิกรัม ซึ่ง Phytosterols นี้เองมีส่วนสำคัญในการช่วยลดการดูดซืมคอเลสเตอรอลในลำไส้เล็ก ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลรวมและ LDL-C ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีลดลงด้วยเช่นกัน


วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การดูแลหัวใจ - เคล็ดลับ 8 ประการเพื่อหัวใจที่แข็งแรง

เคล็ดลับ 8 ประการเพื่อหัวใจที่แข็งแรง


หากจะนึกถึงโรคร้ายแรงที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทย แน่นอนโรคหัวใจและหลอดเลือดนับเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ อย่างไม่ต้องสงสัย เพราะในปัจจุบันเองผู้ที่กำลังผจญกับโรคนี้ก็นับจะมีมากขึ้นอันเนื่องมากจากแนวทางการใช้ชีวิตในปัจจุบันที่มีแต่ความเร่งรีบ แข่งขัน จนละเลยการดูและสุขภาพอย่างที่ควรจะเป็น สาเหตุหลักๆ ของการก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ค่อยถูกต้องตามหลักการบริโภค นักวิชาการมองว่าหากสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้องได้ ก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ไม่น้อย วันนี้จึงมีเคล็ดลับขั้นตอนการดูแลหัวใจ ให้แข็งแรงมาฝาก เพื่อนๆ ผู้รักสุขภาพได้ลองนำไปปฏิบัติกัน


เคล็ดลับการดูแลหัวใจให้แข็งแรง

1. จำกัดปริมาณการบริโภคไขมันที่บั่นทอนสุขภาพ และคอเลสเตอรอล

          การได้รับไขมันอิ่มตัว ไขมันชนิดทรานส์ และคอเลสเตอรอลในปริมาณมาก เป็นต้นเหตุของการเกิดหลอดเลือดอุดตัน ซึ่งท้ายที่สุดก็จะนำไปสู่โรคหัวใจ นักโภชนาการจึงแนะนำให้จำกัดการได้รับไขมันเหล่านี้ ด้วยวิธีการปฏิบัติอย่างง่าย ๆ คือ ลดการบริโภคไขมันที่มีลักษณะกึ่งแข็ง เช่น เนย มาร์การีน และเนยขาว ไขมันทุกชนิดที่เป็นไขมันสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันหมู เนย ครีม (จากนมวัว) มันหมู มันไก่ เพราะเป็นแหล่งที่สำคัญของไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอล บางอย่างอาจเป็นแหล่งของไขมันทรานส์ด้วย สังเกตได้จากฉลาก ถ้าเป็นไขมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจน (Hydrogenated Fat) มักใช้ในผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ เช่น คุกกี้ แครกเกอร์ เป็นต้น

2. เลือกบริโภคอาหารโปรตีนที่มีไขมันต่ำ
         อาหารที่เป็นแหล่งโปรตีนโดยทั่วไป คือ เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ เป็นธรรมดาที่คนส่วนใหญ่มักติดใจในเนื้อติดมัน เพราะจะมีรสชาติดี นุ่มและให้กลิ่นที่เย้ายวน แต่ไขมันจากสัตว์เป็นแหล่งของไขมันอิ่มตัว และอุดมด้วยคอเลสเตอรอล ดังนั้นในจำเป็นอย่างยิ่งที่เราควรเลือกกินเนื้อส่วนที่ไม่ติดมัน ต้องลดการบริโภคอาหารพวกขาหมู หมูสามชั้น หมูกรอบ หนังไก่ หนังเป็ด ตลอดจนไส้กรอก เบคอน เครื่องใน เป็นต้น
         หลังจากนั้นควรเลือกดื่มนมและนมเปรี้ยวหรือผลิตภัณฑ์นมที่ปราศจากไขมัน (หรือไขมันต่ำ) ส่วนไข่แดงสำหรับผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุเองไม่ควรกินบ่อยเกินไป เพราะในไข่แดงนั้นมีคอเลสเตอรอลอยู่สู งทางเลือกอื่นที่น่าสนใจคือ หันมาบริโภคเนื้อปลา เต้าหู้ และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองหรือถั่วอื่น ๆ ที่มีไขมันต่ำ ก็นับเป็นอีกทางเลือกที่ดี

3. กินผักและผลไม้ให้มากขึ้น
         ผักผลไม้นอกจากแทบจะปราศจากไขมันแล้ว ยังให้วิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร และสารที่มีประโยชน์อื่น ๆ ต่อร่างกายเป็นจำนวนมาก เพียงแต่ไม่ควรใส่สลัดครีมจนชุ่มหรือกินผักผลไม้ที่ผ่านกระบวนการทอด เช่น เฟรนช์ฟรายส์ กล้วยแขก มันทอด ฯลฯ มากจนเกินไป



4. เลือกธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี
         ข้าวกล้องและขนมปังโฮลวีท เป็นตัวเลือกที่ให้คุณค่าทางโภชนาการมากกว่าข้าวที่ขัดสีจนขาว และขนมปังขาว ใยอาหารและสารอาหารอื่น ๆ ในธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีเหล่านี้ มีผลต่อการควบคุมความดันโลหิต และช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ

5. ลดการใช้เกลือ (โซเดียมคลอไรด์) ในอาหาร
         การกินอหาหารรสเค็มจัด ซึ่งเกิดจากเกลือโซเดียมคลอไรด์หรือเกลือแกงที่มีในอาหารต่าง ๆ มากไปนั้น ไม่ใช่เรื่องดีต่อสุขภาพเท่าใดนัก เพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ เพราะฉะนั้นแล้วบริโภคได้แต่พอควร ลดการเติมเครื่องปรุงรสเค็มให้น้อยลง ไม่ว่าจะเป็นเกลือ น้ำปลา ซีอิ๊ว ซอสปรุงรส เป็นต้น

6. ปรับปริมาณการกินอาหาร
         ปัญหาใหญ่ของหลาย ๆ ประเทศที่กำลับประสบกับปัญหาโรคอ้วน และโรคเรื้อรังทั้งหลายของประชากร คือ การบริโภคอาหารที่เกินพอดี เราต้องรู้จักประมาณการ กินให้พออิ่ม เลือกปริมาณที่พอเหมาะ ถ้าหากเป็นอาหารแบบบุฟเฟ่ต์ควรหยุดเมื่อเริ่มรู้สึกอิ่ม การทานอาหารในแต่ละมื้อที่พอดี สามารถทำได้โดย ณ ขณะมื้ออาหารหากเมื่อได้รู้สึกว่าอีก 2-3 คำต่อจากนี้จะอิ่ม ให้เราหยุดรับประทานอาหาร และดื่มน้ำทันที จะทำให้มีความพอดีในการทานอาหารเกิดขึ้น

7. วางแผนล่วงหน้าในการบริโภคอาหารแต่ละวัน
         อย่างน้อยในแต่ละวันควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ อาจมีอาหารจำพวก ข้าว แป้ง ผักผลไม้มากหน่อย ส่วนอาหาหารจำพวกเนื้อสัตว์หรืออาหารโปรตีนให้บริโภคพอพอประมาณ และน้ำมัน (ไขมัน) น้ำตาล เกลือให้เลือกทานแต่น้อย

8. ให้รางวัลชีวิตกับตัวเองเป็นครั้งคราว
สุดท้ายแล้วอย่าเคร่งเครียดกับการใช้ชีวิตมากจนเกินไปโดยเฉพาะการบริโภคอาหาร ขอเพียงให้ในเวลาส่วนใหญ่เรากินอาหารให้ถูกหลัก ทานสิ่งที่มีประโยชน์และดีต่อสุขภาพ บางครั้งบางคราวเราสามารถให้รางวัลในการบริโภคอาหารกับตัวเองบ้าง แต่อย่าใช้เป็นข้ออ้างในการละเลยการมีพฤติกรรมการบริโภคที่ดี

         ครบ 8 วิธีการดูแลหัวใจที่ไมน่าจะยากจนเกินไปสำหรับการนำไปปฏิบัติ หากสามารถปฏิบัติจนปรับเปลี่ยนเป็นนิสัยการบริโภคที่ดีได้ เชื่อว่าหัวใจของเราจะแข็งแรงและห่างจากโรคภัยไข้เจ็บได้อย่างแน่นอน

อ้างอิง - ดร.อาณดี นิติธรรมยง สถาบันวิจัยโภชนาการ ม.มหิดล
Mayo Clinic



วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สารอาหารบำรุงสายตากับการดูแลรักษาดวงตา

สารอาหารบำรุงสายตากับการดูแลรักษาดวงตา


               การเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพฉันใด การเลือกบริโภคอาหารที่มีส่วนช่วยบำรุงสายตาก็มีความจำเป็นต่อสุขภาพสายตาที่ดีฉันนั้นเหมือนกัน คุณดภาพการมองเห็นเป็นสิ่งที่วิเศษสุดของคนเรา ดังนั้นแล้วสุขภาพสายตาของเราควรได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดี และไม่ควรปล่อยปละละเลยเป็นอันขาด จำเป็นอย่างยิ่งที่เราควรจะใช้ดวงตาอย่างทะนุถนอมและรู้จักดูแลบำรุงรักษาสายตาด้วยการเลือกกินอาหารที่มีสารอาหารและวิตามินบำรุงสายตา


                ลักษณะของอาหารบำรุงสายตา ที่สำคัญจะมีวิตามินเอ(Vitamin-A) สารอาหารที่ชื่อว่า ลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin) สารอาหารเหล่านี้เป็นสารอาหารสำคัญในอาหารบำรุงสายตาชั้นดี
                วิตามินเอ(Vitamin-A) จะได้มาจากอาหารจำพวก ตับหมู ตับไก่ ไข่แดง ฟักทอง ฯลฯ สำหรับสารอาหารลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน(Zeaxanthin) นั้นเป็นสารอาหารที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่ห่วงใยสุขภาพสายตาอย่างจริงจัง และคนที่มีการทำงานโดยใช้สายตามากกว่าปกติเช่น คนที่ต้องนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ในแต่ละวัน หรือต้องทำงานอยู่กลางแจ้งในบริเวณที่มีแสงแดดจัดจ้าอยู่บ่อยครั้ง คนที่ต้องขับรถตอนกลางคืนบ่อยๆ ซึ่งในระหว่างที่ขับมักจะถูกแสงไฟรถที่วิ่งสวนมาสาดเข้าตาบ่อยๆ ทำให้ดวงตาทำงานหนักที่ต้องคอยปรับโฟกัสตลอดเวลา หรือในลักษณะเดียวกับแสงไฟแฟลชจากกล้องถ่ายรูป ที่มักทำให้สายตาต้องทำงานหนักเมื่อเจอแสงสว่างในลักษณะนี้เช่นกัน
               สารอาหารลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin)นั้นมีส่วนสำคัญเกี่ยวกับจุดรับภาพของดวงตาคนเรา สารอาหารทั้งสองชนิดนี้จะช่วยกรองแสงหรือป้องกันรังสีที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อดวงตา นอกจากนี้ยังช่วยปกป้องไม่ให้เซลล์ของจอประสาทตาถูกทำลาย ดังนั้นการบำรุงรักษาสายตาสามารถทำได้โดยรู้จักเลือกบริโภคอาหารที่มีส่วนช่วยดูแลดวงตาโดยตรงเช่นสารลูทีน(Lutein)และซีแซนทีน(Zeaxanthin) เพื่อประโยชน์ในการบำรุงสายตาของเราให้มีคุณภาพและยืดอายุให้ดวงตาของเราอยู่กับเราไปได้ยาวนานขึ้น
                อาหารที่มีลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน(Zeaxanthin) ได้แก่อาหารจำพวกพืชผักผลไม้ที่มีสีเขียวเข้มและสีเหลืองเช่น ผักปวยเล้ง ผักโขม ผักคะน้าและข้าวโพด และสารอาหารที่มีความจำเป็นในการบำรุงสายตาควบคู่ไปกับลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน (Zeaxanthin)ก็คือวิตามินเอ ดังได้กล่าวไปแต่ตอนต้นนั่นเอง ซึ่งได้แก่ผักผลไม้จำพวกฟักทอง ผักตำลึง แครอท ตับหมู มะละกอ มะม่วงสุก ผักบุ้ง ฯลฯ
สารอาหารเหล่านี้นอกจากนี้นอกจากจะช่วยดูแลบำรุงสายตาแล้ว สารอาหารดังกล่าวข้างต้นยังมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต้อกระจก(Cataracts) โรคกระจกตาเสื่อม(AMD) มะเร็งเต้านมและโรคหลอดเลือดหัวใจอีกด้วย


                การดูแลรักษาสุขภาพดวงตาให้มีสุขภาพดี นอกจากการรู้จักเลือกบริโภคอาหารบำรุงสายตาที่มีสารลูทีน (Lutein) ซีแซนทีน (Zeaxanthin) และวิตามินเอแล้ว ยังมีสิ่งที่จำเป็นต้องทำควบคู่กันไป เพื่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพของสายตานั่นคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สายตาในการทำงาน เมื่อต้องทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ  เช่น หันมาใช้แผ่นกรองแสงกับจอคอมพิวเตอร์และปรับลดระดับแสงสว่างจากจอคอมพิวเตอร์ให้พอเหมาะ โดยอย่าให้หน้าจอฯ สว่างจ้ามากเกินไป และเมื่อต้องทำงานที่ต้องใช้สายตามากๆ เป็นเวลานานให้รู้จักหยุดพักสายตาบ้างอย่างน้อยสัก 3-5 นาทีในแต่ละชั่วโมง และเมื่อต้องทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานาน ควรสวมแว่นกันแดดเพื่อลดปริมาณแสงที่จะเข้ามากระทบกับตาของเรา
                สรุปแล้วการดูแลถนอมสายตา สามารถทำได้ 2 แบบคือ การเลือกรับประทานอาหารบำรุงสายตาที่มีส่วนช่วยให้ดวงตาได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อดวงตาโดยตรง และรวมไปถึงการปรับพฤติกรรมการทำงาน ที่ต้องใช้สายตามากๆจะเป็นการป้องกันและช่วยถนอมรักษาดวงตาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หากเราสามารถปฏิบัติได้ทั้งสองแบบไปพร้อมๆ กันได้ ก็เหมือนกับเป็นการบำรุงรักษาสายตาจากภายใน (โดยผ่านการบริโภคอาหารบำรุงสายตา) และป้องกันอันตรายรบกวนกับสายตาจากภายนอก (โดยการปรับพฤติกรรมการใช้สายตา) ซึ่งจะมีผลช่วยถนอมและรักษาดวงตาให้อยู่กับเราไปได้อีกนานเท่านาน